Skip to main content

ภาษาทมิฬ เนื้อหา ประวัติ การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ สำเนียง ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน ระบบการเขียน ไวยากรณ์ คำศัพท์ อ้างอิง รายการเลือกการนำทาง"Overview of the South Asian Diaspora"Multilingualism and Second Language Acquisition and Learning in PondicherryAmazing Andamans and North-East India: A Panoramic View of States, Societies and Cultures"Tradition, Modernity and Impact of Globalization – Whither Will Tamil Go?"India sets up classical languagesSanskrit to be declared classical languageDiglossia as a Sociolinguistic Situation"A Reference Grammar of Classical Tamil Poetry: 150 B.C.-Pre-Fifth/Sixth Century A.D."

ภาษาทมิฬ


ทมิฬตระกูลภาษาดราวิเดียนภาษาคลาสสิกวรรณกรรมภาษาทมิฬอักษรทมิฬอักษรพราหมีรามายณะสันสกฤตขบวนการทมิฬบริสุทธิ์พรรคดราวิเดียนรัฐทมิฬนาฑูจังหวัดตะวันออกเฉียงเหนือรัฐกรณาฏกะรัฐเกรละรัฐอานธรประเทศรัฐมหาราษฏระโคลอมโบสหภาพพอนดิเชอรีหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ภาษามลยาฬัมภาษาอังกฤษภาษาโปรตุเกสภาษาดัตช์อักษรครันถ์ภาษาสันสกฤตภาษาปรากฤตตระกูลภาษาดราวิเดียนภาษามลยาฬัมภาษากันนาดาภาษาเตลูกูภาษาสันสกฤตภาษาเปอร์เซียภาษาอาหรับภาษาอังกฤษ










(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());




ภาษาทมิฬ




จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี






ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
























ภาษาทมิฬ
தமிழ்
Word Tamil.svg
ออกเสียง[t̪ɐmɨɻ] ตะมิฬ
ประเทศที่มีการพูด
อินเดีย และศรีลังกา และมีบางส่วนใน สิงคโปร์ มาเลเซีย มอริเชียส แอฟริกาใต้
ภูมิภาค
รัฐทมิฬนาฑูและรัฐใกล้เคียง
จำนวนผู้พูด74 ล้าน (พ.ศ. 2542)  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา

ดราวิเดียน

  • ดราวิเดียนใต้

    • ทมิฬ-คันนาดา

      • ทมิฬ-โคดากู

        • ทมิฬ-มลยาฬัม
          • ภาษาทมิฬ
ระบบการเขียนอักษรทมิฬ
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
อินเดีย ศรีลังกา และสิงคโปร์
ผู้วางระเบียบรัฐบาลของรัฐทมิฬนาฑู และสถานศึกษาหลายแห่ง
รหัสภาษา
ISO 639-1ta
ISO 639-2tam
ISO 639-3tam

ภาษาทมิฬ (ทมิฬ: தமிழ்; เกี่ยวกับเสียงนี้ [t̪ɐmɨɻ] ) เป็นหนึ่งใน ตระกูลภาษาดราวิเดียน เป็นหนึ่งในภาษาคลาสสิกของโลก วรรณกรรมภาษาทมิฬได้มีมาเป็นเวลา 2,500 ปีแล้ว และเป็นภาษาคลาสสิกภาษาแรกที่มีพัฒนาการเขียนแบบเฉพาะสำหรับบทกวี


เสียง "l" ในคำว่า "Tamil" ออกเสียง "คล้าย" กับ "ร" กล่าวคือ ออกเสียงโดยให้ปลายลิ้นส่วนล่างติดกับเพดานปาก และมักจะเขียนเป็น "zh" ในอักษรโรมัน (ตรงกับเสียง j ในภาษาฝรั่งเศส ส่วนภาษาไทยไม่มีเสียงที่เทียบได้ตรง) เชื่อว่าอักษร 'ழ' ซึ่งพบใน 'தமிழ்' (ทมิฬ) มีการออกเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่พบในภาษาอื่น ๆ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ อักษรทมิฬ




เนื้อหา





  • 1 ประวัติ

    • 1.1 ภาษาทมิฬโบราณ


    • 1.2 ภาษาทมิฬยุคกลาง


    • 1.3 ภาษาทมิฬยุคใหม่



  • 2 การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์


  • 3 สำเนียง

    • 3.1 ความแปรผันของคำยืม


    • 3.2 ความผันแปรของท้องถิ่น



  • 4 ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน


  • 5 ระบบการเขียน

    • 5.1 สระ


    • 5.2 พยัญชนะ


    • 5.3 อายตัม


    • 5.4 ตัวเลขและเครื่องหมายอื่น ๆ



  • 6 ไวยากรณ์


  • 7 คำศัพท์


  • 8 อ้างอิง




ประวัติ




จารึกภาษาทมิฬในวิหารพริหเทสวระ ในทันชวุร


หลักฐานเริ่มแรกของภาษทมิฬมีอายุราว พ.ศ. 243 ภาษานี้พบในอินเดียในฐานะภาษาที่มีวรรณกรรมมากในยุคสันคัม (พ.ศ. 243 - 843) เป็นภาษาที่พบในจารึกมากที่สุดในเอเชียใต้ โดยพบถึง 30,000 ชิ้น วรรณกรรมภาษาทมิฬในยุคสันคัมเป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดของตระกูลภาษาดราวิเดียนด้วย การเก็บรักษาวรรณกรรมในอินเดียมี 2 แบบคือ เขียนลงบนใบลานหรือท่องจำแบบมุขปาฐะ นักวิชาการของภาษาทมิฬแบ่งภาษาออกเป็นสามยุคคือ ภาษาทมิฬโบราณ ภาษาทมิฬยุคกลาง ภาษาทมิฬยุคใหม่



ภาษาทมิฬโบราณ


จารึกภาษาทมิฬที่เก่าที่สุดพบราว พ.ศ. 243 เขียนด้วยอักษรทมิฬ-พราหมีที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี[1] ไวยากรณ์ที่เก่าที่สุดคือ โตลกาปปิยัม (Tolkāppiyam) ซึ่งบรรยายเกี่วกับกวีและไวยากรณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายุคคลาสสิกของภาษานี้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 243 - 1043 วรรณคดีในยุคสันคัม พบบทกวีกว่า 50,000 บรรทัด เขียนโดยกวี 473 คน รวมทั้งกวีที่เป็นสตรีด้วย ส่วนใหญ่ใช้ในการขับร้อง


ภาษาทมิฬโบราณหลังยุคสันคัม มีวรรณคดีที่สำคัญอยู่ 5 เรื่อง ได้แก่ สิลิปปติการัม มนิเมกาลัย สีวกจินตามนิ วลัยยปฐี และกุนทลเกสิ ซึ่งถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่



ภาษาทมิฬยุคกลาง


ยุคนี้เป็นยุคภักติ วรรณกรรมสำคัญคือรามายณะภาคภาษาทมิฬในชื่อ กัมพะ รามายณัม (พุทธศตวรรษที่ 17) ในช่วงท้ายของยุคนี้ ราวพุทธศตวรรษที่ 19-21 ภาษาทมิฬถูกทำให้เป็นสันสกฤต มากขึ้น เกิดภาษาผสมขึ้นมา



ภาษาทมิฬยุคใหม่


ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 เกิดขบวนการทมิฬบริสุทธิ์เรียกร้องให้นำส่วนที่มาจากภาษาสันสกฤตและภาษาอื่น ๆ ออกไปจากภาษาทมิฬ แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากพรรคดราวิเดียนและนักชาตินิยมที่เรียกร้องเอกราชของทมิฬ มีการแทนที่คำยืมจากภาษาสันสกฤตด้วยคำจากภาษาทมิฬที่มีความหมายเหมือนกัน



การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์




การแพร่กระจายของผู้พูดภาษาทมิฬในอินเดียใต้และศรีลังกา (พ.ศ. 2504)


ภาษาทมิฬเป็นภาษาหลักในรัฐทมิฬนาฑูของอินเดียและจังหวัดตะวันออกเฉียงเหนือของศรีลังกา และใช้พูดโดยชนกลุ่มเล็ก ๆ ในพื้นที่อื่นๆของทั้งสองประเทศนี้ เช่น รัฐกรณาฏกะ รัฐเกรละ รัฐอานธรประเทศ และรัฐมหาราษฏระของอินเดีย รวมทั้งโคลอมโบและทางตะวันออกของศรีลังกา


จากการอพยพของสมัยอาณานิคมทำให้ปัจจุบันมีผู้พูดภาษาทมิฬกระจายไปในหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย [2] ไทย [3] มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า เวียดนาม แอฟริกาใต้ และมอริเชียส นอกจากนั้นยังพบบ้างในกายอานา ฟีจี ซูรินาม ตรินิแดดและโตเบโก คนเหล่านี้เป็นคนที่พูดภาษาทมิฬมาก่อน[4] แต่ปัจจุบันเริ่มหันไปพูดภาษาอื่น และยังมีผู้อพยพจากอินเดียและศรีลังกาไปอยู่ที่แคนาดา สหรัฐ ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และยุโรปตะวันตก
สถานะทางกฎหมาย
ภาษาทมิฬเป็นภาษาราชการของรัฐทมิฬนาฑู เป็นภาษาราชการร่วมในสหภาพพอนดิเชอรี[5] และหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ [6] เป็นหนึ่งในภาษาประจำชาติ 23 ภาษาของอินเดีย เป็นภาษาราชการร่วมของศรีลังกาและสิงคโปร์ ในมาเลเซียมีโรงเรียนประถมศึกษา 543 แห่งสอนเป็นภาษาทมิฬ[7]


เมื่อ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ดร. อับดุล กาลัมประธานาธิบดีอินเดียได้ประกาศยอมรับให้ภาษาทมิฬเป็นภาษาคลาสสิกของอินเดีย[8][9][10]



สำเนียง



ความแปรผันของคำยืม


สำเนียงของภาษาทมิฬในรัฐเกรละมีคำยืมจากภาษามลยาฬัมมาก และได้รับอิทธิพลจากการเรียงประโยคของภาษามลยาฬัม สำเนียงของกลุ่มผู้นับถือนิกายไวษณพ ซึ่งอพยพไปอยู่รัฐกรณาฏกะได้พัฒนาสำเนียงเป็นของตนเอง ภาษาทมิฬในศรีลังกามีคำยืมจากภาษาอังกฤษ ภาษาโปรตุเกสและภาษาดัตช์ด้วย



ความผันแปรของท้องถิ่น


ความแตกต่างของภาษาทมิฬขึ้นกับการเปลี่ยยนแปลงการออกเสียงที่ต่างไปจากภาษาทมิฬโบราณ เช่นคำว่า ที่นี่ (iṅku) ในสำเนียงคลาสสิกกลายเป็น iṅkū ในสำเนียงโกนคู inga ในสำเนียงธันชวูร์ และ iṅkai ในบางสำเนียงของศรีลังกา คำว่า iṅkaṇ ในภาษาทมิฬโบราณเป็นแหล่งที่มาของ iṅkane ในสำเนียงติรูเนลเวลี ภาษาทมิฬโบราณ iṅkaṭṭu เป็นที่มาของ iṅkuṭṭu ในสำเนียงมาดูไร และ iṅkaṭe ในสำเนียงทางเหนืออื่น ๆ แม้ว่าปัจจุบันในโจอิมบาตอเรจะเป็นปกติที่จะได้ยิน akkaṭṭa ซึ่งหมายถึงสถานที่นี้ สำเนียงของภาษาทมิฬไม่ได้ต่างกันทางด้านคำศัพท์มากนัก สำเนียงในศรีลังกายังคงรักษาคำศัพท์และรูปแบบไวยากรณ์ที่ไม่พบในการพูดในชีวิตประจำวันในอินเดียและใช้คำบางคำต่างไปบ้าง



ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน


ภาษาทมิฬมีรูปแบบที่แตกต่างกันหลายแบบ เช่น รูปแบบวรรณคดีคลาสสิกที่มาจากภาษายุคโบราณ (สันกัตตามิฬ) รูปแบบการเขียนสมัยใหม่และเป็นทางการ (เจนตามิฬ) และรูปแบบสมัยใหม่สำหรับการพูด (โกฎูนตามิฬ) แต่ละรูปแบบอาจมีลักษณะร่วมกัน เช่น เป็นไปได้ที่จะเขียนแบบเจนตามิฬโดยใช้รูปศัพท์ที่ต่ำกว่า เรียกเจญกัตตามิฬ หรือใช้รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสำเนียงใดสำเนียงหนึ่งกับโกฎูนตามิฬ [11]




ในปัจจุบัน เจนตามิฬเป็นรูปแบบที่ใช้ทั่วไปในการเขียนและพูดอย่างเป็นทางการและเป็นภาษาในตำรา โกฎูนตามิฬเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และเริ่มนำมาใช้ในภาพยนตร์และการหาเสียงของนักการเมืองทำให้เกิดการพูดแบบมาตรฐานที่ไม่เป็นทางการขึ้น ในอินเดีย มาตรฐานของโกฎูนตามิฬขึ้นกับการพูดของผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์และระดับการศึกษา[12] แต่ได้รับอิทธิพลจากสำเนียงธันชวูร์และมาดูไร ส่วนในศรีลังกามาตรฐานขึ้นกับสำเนียงจาฟนา



ระบบการเขียน


ดูบทความหลักที่: อักษรทมิฬ

อักษรทมิฬมีสระ 12 ตัว พยัญชนะ 18 ตัวและเครื่องหมายพิเศษคืออายตัม สระและพยัญชนะประสมกันได้รูปแบบผสม 216 แบบ ทำให้มีทั้งหมด 247 แบบ พยัญชนะทุกตัวมีพื้นเสียงเป็น /อะ/ ซึ่งเอาออกได้โดยเติมปุลลิซึ่งเป็นจุดอยู่ใต้พยัญชนะ ไม่มีการแยกเสียงโฆษะและอโฆษะ
นอกจากอักษรมาตรฐานแล้ว ยังมีอักษรอีก 6 ตัวมาจากอักษรครันถ์ซึ่งเคยใช้เขียนภาษาสันสกฤตในหมู่ชาวทมิฬ และใช้แสดงเสียงที่ไม่ใช่เสียงพื้นฐานของภาษาทมิฬ ซึ่งเป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤต ภาษาปรากฤต และภาษาอื่น ๆ



สระ


สระในภาษาทมิฬเรียกอูยิเรฬุตตุ แบ่งเป็นสระเสียงสั้น (กุริล) 5 เสียง เสียงยาว 5 เสียงและสระประสม (/ไอ/และ/เอา/) และสระที่ถูกทำให้สั้น (กุรริยัล) 3 เสียง สระเสียงยาว (เนฏิล) มีเสียงยาวเป็นสองเท่าของสระเสียงสั้น สระประสมออกเสียงเป็น 1.5 เท่าของสระเสียงสั้น แต่ในตำราไวยากรณ์มักเอาไปรวมกับสระเสียงยาว


















































ShortLong
FrontCentralBackFrontCentral
Back

Close
iu



Mid
eo



Open
a(ai)
(aw)
ஒள


พยัญชนะ


พยัญชนะในภาษาทมิฬเรียกว่าเมยเยฬุตตุ แบ่งเป็นสามหมวดคือ เสียงหนัก (วาลิณัม) เสียงเบาหรือเสียงนาสิก (เมลลิณัม) และเสียงกลาง (อิฏายิณัม) ภาษาทมิฬต่างจากภาษาอื่นๆในอินเดียที่ไม่แยกเสียงมีลมและไม่มีลม เสียงนาสิกส่วนมากเป็นเสียงโฆษะ ภาษาทมิฬมีเสียงม้วนลิ้น (ฬ) ซึ่งในตระกูลภาษาดราวิเดียนด้วยกันพบในภาษามลยาฬัม หายไปจากการออกเสียงภาษากันนาดาเมื่อราว พ.ศ. 1543 แต่ยังมีอักษรใช้อยู่ และไม่พบในภาษาเตลูกู[13]























































































LabialDentalAlveolarRetroflexPalatal
Velar

Plosives
p (b)t̪ (d̪)ʈ (ɖ)tʃ (dʒ)
k (ɡ)


Nasals
mnɳɲ
ŋ


Tap
ɾ̪


Trill
r


Central approximants
ʋɻj


Lateral approximants
ɭ


อายตัม


ในภาษาทมิฬคลาสสิก มีหน่วยเสียงอายตัม เขียนเป็น ‘ஃ' ซึ่งไวยากรณ์ในยุคนั้นแยกเป็นหน่วยเสียงหนึ่ง[14] แต่พบน้อยในภาษาทมิฬสมัยใหม่ ในตำราไวยากรณ์ยุคคลาสสิกกล่าวว่าอายตัมเปลี่ยนเสียงที่เข้ารวมด้วยให้เป็นเสียงจากเส้นเสียงหรือใช้เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ ส่วนในภาษาทมิฬสมัยใหม่ ใช้เปลี่ยน pa เป็น fa เมื่อเขียนภาษาอังกฤษด้วยอักษรทมิฬ



ตัวเลขและเครื่องหมายอื่น ๆ




























0123456789101001000

















วันเดือนปีdebitcreditเหมือนข้างบนรูปีnumeral


ไวยากรณ์


บทความหลัก:ไวยากรณ์ภาษาทมิฬ


ไวยากรณ์ภาษาทมิฬส่วนใหญ่ได้บรรยายไว้ในตำราไวยากรณ์เก่าสุด "โตลกาปปิยัม" การเขียนภาษาทมิฬสมัยใหม่ใช้ตามตำราไวยากรณ์ เมื่อราว พ.ศ. 1800 Nannūl ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากโตลกาปปิยัมบ้าง ภาษาทมิฬโบราณแบ่งเป็น5ส่วนคือ eluttu, col, porul, yāppu และ ani สองส่วนหลังมักใช้ในวรรณคดี


ภาษาทมิฬเป็นภาษารูปคำติดต่อเช่นเดียวกับตระกูลภาษาดราวิเดียนอื่น ๆ คำภาษาทมิฬประกอบด้วยรากศัพท์ ซึ่งจะต่อท้ายด้วยปัจจัย 1 ตัวหรือมากกว่า ปัจจัยเหล่านี้มีทั้งที่เปลี่ยนความหมายหรือชนิดของคำ และปัจจัยที่แสดงการผันตามบุคคล จำนวน มาลาและกาล ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความยาวของการเติมปัจจัย ทำให้มีการสร้างคำขนาดยาว ประกอบด้วยปัจจัยหลายตัวได้



คำศัพท์


คำศัพท์ภาษาทมิฬสมัยใหม่ ส่วนมากมาจากภาษาทมิฬโบราณ คำยืมจากภาษาสันสกฤตพบได้ทั่วไป นอกจากนั้นมีคำยืมจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นผลจากการติดต่อค้าขายในอดีต ตั้งแต่พุทธศตวรรณที่ 25 เริ่มมีคำยืมจากภาษาอังกฤษโดยเฉพาะศัพท์เทคนิค มีการกำหนดศัพท์เทคนิคที่มาจากภาษาทมิฬเช่นกันโดยรัฐบาลศรีลังกาหรือมหาวิทยาลัยทมิฬวิชัล



อ้างอิง




  1. Mahadevan 2003, pp. 90–95


  2. Ramstedt 243


  3. Kesavapany 60


  4. McMahon, Suzanne. "Overview of the South Asian Diaspora". University of California, Berkeley. สืบค้นเมื่อ 2008-04-23..mw-parser-output cite.citationfont-style:inherit.mw-parser-output qquotes:"""""""'""'".mw-parser-output code.cs1-codecolor:inherit;background:inherit;border:inherit;padding:inherit.mw-parser-output .cs1-lock-free abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/65/Lock-green.svg/9px-Lock-green.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-lock-limited a,.mw-parser-output .cs1-lock-registration abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d6/Lock-gray-alt-2.svg/9px-Lock-gray-alt-2.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-lock-subscription abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/aa/Lock-red-alt-2.svg/9px-Lock-red-alt-2.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-subscription,.mw-parser-output .cs1-registrationcolor:#555.mw-parser-output .cs1-subscription span,.mw-parser-output .cs1-registration spanborder-bottom:1px dotted;cursor:help.mw-parser-output .cs1-hidden-errordisplay:none;font-size:100%.mw-parser-output .cs1-visible-errorfont-size:100%.mw-parser-output .cs1-subscription,.mw-parser-output .cs1-registration,.mw-parser-output .cs1-formatfont-size:95%.mw-parser-output .cs1-kern-left,.mw-parser-output .cs1-kern-wl-leftpadding-left:0.2em.mw-parser-output .cs1-kern-right,.mw-parser-output .cs1-kern-wl-rightpadding-right:0.2em


  5. Ramamoorthy, L. Multilingualism and Second Language Acquisition and Learning in Pondicherry. Retrieved on 2007-08-16.


  6. Sunwani, Vijay K. Amazing Andamans and North-East India: A Panoramic View of States, Societies and Cultures. Retrieved on 2007-08-16.


  7. http://ccat.sas.upenn.edu/~haroldfs/540/handouts/sparadox/sparadox.html


  8. Thirumalai, Ph.D., M. S. (2004). "Tradition, Modernity and Impact of Globalization – Whither Will Tamil Go?". Language in India. 4. สืบค้นเมื่อ 2007-11-17. Unknown parameter |month= ignored (help)


  9. BBC. India sets up classical languages. August 17, 2004. Retrieved on 2007-08-16.


  10. The Hindu. Sanskrit to be declared classical language. October 28, 2005. Retrieved on 2007-08-16.


  11. Harold Schiffman, "Diglossia as a Sociolinguistic Situation", in Florian Coulmas (ed.), The Handbook of Sociolinguistics. London: Basil Blackwell, Ltd., 1997 at pp. 205 et seq.


  12. Harold Schiffman, "Standardization or restandardization: The case for ‘Standard' Spoken Tamil". Language in Society 27 (1998), pp. 359–385.


  13. V. S. Rajam. "A Reference Grammar of Classical Tamil Poetry: 150 B.C.-Pre-Fifth/Sixth Century A.D." สืบค้นเมื่อ 2007-06-01.


  14. Krishnamurti, Bhadriraju (2003). The Dravidian Languages. Cambridge Language Surveys. Cambridge University Press. p. 154. ISBN 0521771110.




วิกิพีเดีย


วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษาทมิฬ





ดึงข้อมูลจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ภาษาทมิฬ&oldid=8240566"













รายการเลือกการนำทาง



























(RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.420","walltime":"0.586","ppvisitednodes":"value":3503,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":71599,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":6368,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":15,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":0,"limit":500,"unstrip-depth":"value":1,"limit":20,"unstrip-size":"value":15487,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":0,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 441.321 1 -total"," 32.02% 141.308 2 แม่แบบ:Navbox_generic"," 28.24% 124.638 1 แม่แบบ:ภาษาทางการอาเซียน"," 26.74% 117.992 1 แม่แบบ:รายการอ้างอิง"," 25.87% 114.149 1 แม่แบบ:กล่องข้อมูล_ภาษา"," 25.73% 113.557 20 แม่แบบ:Flag"," 20.09% 88.666 1 แม่แบบ:Infobox"," 15.20% 67.090 2 แม่แบบ:Cite_web"," 5.54% 24.439 1 แม่แบบ:ภาษาราชการอินเดีย"," 4.44% 19.614 1 แม่แบบ:บทความหลัก"],"scribunto":"limitreport-timeusage":"value":"0.085","limit":"10.000","limitreport-memusage":"value":2569068,"limit":52428800,"cachereport":"origin":"mw1294","timestamp":"20191012114037","ttl":2592000,"transientcontent":false););"@context":"https://schema.org","@type":"Article","name":"u0e20u0e32u0e29u0e32u0e17u0e21u0e34u0e2c","url":"https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%AC","sameAs":"http://www.wikidata.org/entity/Q5885","mainEntity":"http://www.wikidata.org/entity/Q5885","author":"@type":"Organization","name":"Contributors to Wikimedia projects","publisher":"@type":"Organization","name":"Wikimedia Foundation, Inc.","logo":"@type":"ImageObject","url":"https://www.wikimedia.org/static/images/wmf-hor-googpub.png","datePublished":"2004-09-17T01:31:16Z","dateModified":"2019-04-22T04:30:58Z","image":"https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/3/35/Word_Tamil.svg"(RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgBackendResponseTime":162,"wgHostname":"mw1248"););

Popular posts from this blog

Tamil (spriik) Luke uk diar | Nawigatjuun

Align equal signs while including text over equalitiesAMS align: left aligned text/math plus multicolumn alignmentMultiple alignmentsAligning equations in multiple placesNumbering and aligning an equation with multiple columnsHow to align one equation with another multline equationUsing \ in environments inside the begintabularxNumber equations and preserving alignment of equal signsHow can I align equations to the left and to the right?Double equation alignment problem within align enviromentAligned within align: Why are they right-aligned?

Where does the image of a data connector as a sharp metal spike originate from?Where does the concept of infected people turning into zombies only after death originate from?Where does the motif of a reanimated human head originate?Where did the notion that Dragons could speak originate?Where does the archetypal image of the 'Grey' alien come from?Where did the suffix '-Man' originate?Where does the notion of being injured or killed by an illusion originate?Where did the term “sophont” originate?Where does the trope of magic spells being driven by advanced technology originate from?Where did the term “the living impaired” originate?