Skip to main content

ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง เนื้อหา ต้นกำเนิด ยุคเรืองอำนาจของราชวงศ์เมโรวิงเจียน ค.ศ. 511-614 การขึ้นมาของราชวงศ์การอแล็งเฌียง อ้างอิง แหล่งข้อมูล รายการเลือกการนำทางแก้

ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง


อังกฤษฝรั่งเศสค.ศ. 481ค.ศ. 751พ.ศ. 1024พ.ศ. 1294โคลวิสที่ 1โคลวิสแม่น้ำไรน์เคิลน์อาเคินแม็สฟรังโกเนียประเทศเนเธอร์แลนด์แม่น้ำเมิซแม่น้ำซอมม์กอลภาษาเจอร์แมนิกลัทธิเพแกนกฎหมายแซลิกอนารยชนตูร์แนพระเจ้าโคลวิสไรน์ลันท์ชาววิซิกอทชาวบูร์กอญชาวโรมันแคว้นเบรอตาญแม่น้ำลัวร์แร็งส์บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนลัทธิเอเรียสพระเจ้าอลาริกที่ 2ตูลูซชิลเดอแบร์โคลโดแมร์โคลทาร์เทอเดอริกทือริงเงินบูร์กอญพรอว็องส์ไบเอิร์นชวาเบินราชอาณาจักรฝรั่งเศสซิเกอแบร์กุนแทรมชิลเปอริกอทานากิลด์บรุนฮิลดาเฟรอเดอกุนดาพระเจ้าชิลเดอแบร์ที่ 2พระเจ้าโคลทาร์ที่ 2ชาริแบร์พระเจ้าดาโกแบร์สมุหราชมนเทียรเปแป็งที่ 2 ผู้อ่อนวัยกว่าอากีแตนชาร์ล มาร์แตลพระเจ้าโคลทาร์ที่ 4เปแป็งที่ 3พระเจ้าชิลเดอริกที่ 3สมเด็จพระสันตะปาปาซาคารีhttps://www.britannica.com/topic/Merovingian-dynasty










(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());




ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง




จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี






ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา




ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียงในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด



ประเทศฝรั่งเศส

France moderne.svg

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ:
ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส












ประเทศอื่นๆ · แผนที่

ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง (อังกฤษ: Merovingian; ฝรั่งเศส: Mérovingiens; ค.ศ. 481 - ค.ศ. 751; พ.ศ. 1024 - พ.ศ. 1294) เป็นราชวงศ์ของชนเผ่าแฟรงก์หรือฟรอง ปกครองดินแดนฝรั่งเศสเป็นราชวงศ์แรกหลังเข้ายึดดินแดนโกล กษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์คือพระเจ้าโคลวิสที่ 1 (Clovis I) ทรงประกาศพระองค์เป็นคริสต์ศาสนิกชน ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์จากสมเด็จพระสันตะปาปา พระเจ้าโคลวิสทรงขยายอาณาเขตของฝรั่งเศสไปเกือบครอบคลุมอาณาเขตประเทศในปัจจุบันและดินแดนทางตะวันตกของเยอรมนี หลังสิ้นพระชนม์อาณาจักรฝรั่งเศสแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ อยู่ภายใต้การปกครองของพระโอรสหลายพระองค์ ก่อนที่จะรวมเป็นปึกแผ่นอีกครั้งในสมัยพระเจ้าโกลแตร์ที่ 1 (Clotaire I)


กษัตริย์ในยุคหลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือพระเจ้าดาโกแบร์ที่ 1 (Dagobert I) (ครองราชย์ พ.ศ. 1172-1182) หลังจากรัชสมัยของพระองค์ อาณาจักรฝรั่งเศสถูกแบ่งแยกเป็นเขตต่าง ๆ อยู่ในอำนาจของขุนนางนักรบหลายตระกูล ตระกูลที่มีอำนาจมากที่สุดคือตระกูลคาโรลินเจียน (Carolingian) ขุนนางในตระกูลนี้เริ่มดำรงตำแหน่งสำคัญในราชสำนักและควบคุมกษัตริย์เมโรวินเจียนจนไร้พระราชอำนาจ ในที่สุด เปแปง หัวหน้าตระกูลจึงถอดถอนพระเจ้าชิลเดริกที่ 3 (Childeric III) ออกจากราชบัลลังก์และตั้งตนเป็นกษัตริย์องค์ใหม่แห่งราชวงศ์คาโรลินเจียน




เนื้อหา





  • 1 ต้นกำเนิด

    • 1.1 ชาวแฟรงก์


    • 1.2 กษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์



  • 2 ยุคเรืองอำนาจของราชวงศ์เมโรวิงเจียน ค.ศ. 511-614


  • 3 การขึ้นมาของราชวงศ์การอแล็งเฌียง


  • 4 อ้างอิง


  • 5 แหล่งข้อมูล




ต้นกำเนิด



ชาวแฟรงก์


ชาวริปัวเรียนแฟรงก์ (หรือชาวแฟรงก์บนที่ลุ่ม) ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ลาดทางตะวันตกของแม่น้ำไรน์มาตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ในปี ค.ศ. 463 ชาวริปัวเรียนแฟรงก์ได้เข้ายึดและตั้งนครเคิลน์ (หรือโคโลญ) เป็นเมืองหลวง ชาวริปัวเรียนแฟรงก์แผ่ขยายอำนาจบริเวณหุบเขาแม่น้ำไรน์ ตั้งแต่นครอาเคินถึงนครแม็ส ชาวแฟรงก์ที่อาศัยอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์เรียกว่าชาวฟรังโกเนีย (หรือฟรังเคิน) และมีชาวแฟรงก์อีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่าชาวแซเลียนแฟรงก์ ซึ่งคำว่า แซเลียน อาจมาจากชื่อของแม่น้ำแซลา (ปัจจุบันคือแม่น้ำเอเซลอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์) ชาวแซเลียนแฟรงก์ได้เคลื่อนตัวไปทางใต้และทางตะวันออก ในช่วงปี ค.ศ. 356 ชาวแซเลียนแฟรงก์ได้ยึดครองอาณาบริเวณที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำเมิซ, มหาสมุทร และแม่น้ำซอมม์ ในปี ค.ศ. 430 ครึ่งหนึ่งของประชาชนของกอลตอนเหนือเป็นชาวแฟรงก์ ชาวแฟรงก์พูดภาษาเจอร์แมนิกและนับถือลัทธิเพแกน


“กฎหมายแซลิก” กล่าวว่าชาวแซเลียนแฟรงก์ไม่ใช่กลุ่มอนารยชน แต่เป็นผู้ได้รับการปลดปล่อยที่มีเสรีภาพ คำว่า แฟรงก์ แปลว่า อิสรภาพ ชาวแซเลียนแฟรงก์มีรูปร่างสูง ผิวขาว มัดผมหางม้า ไว้หนวดแต่ไม่ไว้เครา สวมเสื้อทูนิก รัดเอวด้วยเข็มขัดหนังประดับเหล็กชุบ พกดาบและขวานสงคราม สวมเครื่องประดับทั้งชายและหญิง ได้แก่ แหวน กำไลแขน และสร้อยลูกปัด ชายสุขภาพสมบูรณ์ทุกคนเป็นนักรบที่ได้รับการฝึกฝนมาตั้งแต่เด็ก มีคุณธรรมสูงสุดคือความกล้าหาญ ชาวแฟรงก์ชนะศึกนับครั้งไม่ถ้วน แผ่ขยายดินแดนจนกว้างไกล รู้จักการทำกสิกรรมและงานหัตถกรรม ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของกอลจึงรุ่งเรืองและเป็นสังคมชนบทที่สันติ



กษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์


กษัตริย์แฟรงก์คนแรกที่รู้ชื่อ คือ พระเจ้าโคลดิโอ พระองค์ยึดครองกอลจนถึงแม่น้ำซอมม์และตั้งนครตูร์แนเป็นเมืองหลวง ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์ คือ พระเจ้าเมโรเวก ชื่อของพระองค์เป็นที่มาของชื่อราชวงศ์เมโรวิงเจียนที่ปกครองชาวแฟรงก์จนถึงปี ค.ศ. 751 พระเจ้าเมโรเวกมีพระโอรส คือ พระเจ้าชิลเดอริก บาซินา พระมเหสีของกษัตริย์แห่งทูริงเงินทิ้งพระสวามีมาสมรสกับพระเจ้าชิลเดอริก ทั้งคู่มีพระราชบุตรด้วยกัน คือ พระเจ้าโคลวิส




ภาพพิธีศีลล้างบาปของพระเจ้าโคลวิส โดยนายช่างแห่งเซนต์ไจลส์ คริสต์ศตวรรษที่ 15


พระเจ้าโคลวิสขึ้นครองบัลลังก์ในปี ค.ศ. 481 ขณะพระชนมายุ 15 พรรษา ในตอนนั้นราชอาณาจักรของพระองค์เป็นเพียงมุมเล็กๆ มุมหนึ่งของกอล ชาวแฟรงก์อีกกลุ่มหนึ่งปกครองไรน์ลันท์ ในกอลตอนใต้มีราชอาณาจักรของชาววิซิกอทและชาวบูร์กอญ กอลตะวันตกเฉียงเหนือยังอยู่ภายใต้การปกครองของชาวโรมันซึ่งอ่อนแอมาก พระเจ้าโคลวิสจึงรุกรานพื้นที่ส่วนนั้นจนได้สมบัติมามากมาย จากนั้นพระองค์นำทัพไปปราบกองทัพโรมันที่นครซวยซงในปี ค.ศ. 486 ตลอดสิบปีต่อมาทรงพิชิตดินแดนอย่างต่อเนื่องจนแผ่ขยายไปถึงแคว้นเบรอตาญและแม่น้ำลัวร์ พระองค์ปล่อยให้ชาวกอลเหล่านั้นปกครองดินแดนของตัวเองและให้ความเคารพนักบวชของศาสนาคริสต์นิกายออร์ธอด็อกซ์ ในปี ค.ศ. 493 พระองค์สมรสกับโคลทิลด์ พระนางเป็นชาวคริสต์และต่อมาได้เปลี่ยนศรัทธาของพระองค์จากลัทธิเพแกนเป็นศาสนคริสต์นิกายไนซีน บิชอปรามีได้ประกอบพิธีศีลล้างบาปให้พระองค์ที่นครแร็งส์ ทหาร 3000 นายได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ตามพระเจ้าโคลวิส การเปลี่ยนศาสนาอาจเป็นกุศโลบายเพื่อยึดครองบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ประชาชนชาววิซิกอทและชาวบูร์กอญซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ธอด็อกซ์ไม่ไว้ใจผู้ปกครองที่นับถือลัทธิเอเรียสจึงสานสัมพันธไมตรี ทั้งในทางลับและอย่างเปิดเผย กับกษัตริย์แฟรงก์ซึ่งเป็นชาวคริสต์


พระเจ้าอลาริกที่ 2 เล็งเห็นปัญหาและพยายามหาทางแก้ พระองค์ได้เชิญพระเจ้าโคลวิสมาประชุมร่วมกันที่อ็องบวซเพื่อจับมือเป็นพันธมิตรกัน แต่เมื่อกลับไปนครตูลูซ พระเจ้าอลาริกจับกุมบิชอปออร์ธอด็อกซ์จำนวนหนึ่งด้วยข้อหาสมคบคิดกับชาวแฟรงก์ พระเจ้าโคลวิสจึงเรียกประชุมสภาอัยการศึกและประกาศทำสงครามพิชิตชาวเอเรียส ในปี ค.ศ. 507 พระเจ้าอลาริกที่ 2 ถูกพระเจ้าโคลวิสสังหารและยึดสมบัติมากมายของพระองค์ไปจากนครตูลูซ พระเจ้าโคลวิสพักรบในช่วงฤดูหนาว จากนั้นทรงยกทัพไปปิดล้อมอ็องกูแลมซึ่งเจ้าเมืองยอมทำข้อตกลงกับพระองค์แต่โดยดี ชาวเอเรียสที่ถูกพิชิตถูกเปลี่ยนให้นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ธอด็อกซ์ พระเจ้าโคลวิสได้ย้ายเมืองหลวงของพระองค์มาอยู่ที่นครปารีส ทรงสวรรคตในอีกสี่ปีต่อมาด้วยพระชนมายุ 45 พรรษา



ยุคเรืองอำนาจของราชวงศ์เมโรวิงเจียน ค.ศ. 511-614




ภาพพระเจ้าชิลเปอริกที่ 1 ฆ่ารัดคอพระนางกัลสวินทา จากมหาพงศาวการฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1375–1380


พระเจ้าโคลวิสมีพระโอรสหลายคน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดสงครามแย่งชิงบัลลังก์ พระองค์ได้แบ่งราชอาณาจักรให้แก่พระโอรสทุกคน โดยยกปารีสให้ชิลเดอแบร์, ยกออร์เลอ็องให้โคลโดแมร์, ยกซวยซงให้โคลทาร์ และยกแม็สกับแร็งส์ให้เทอเดอริก กลุ่มอนารยชนเข้ายึดทือริงเงินในปี ค.ศ. 530 ต่อด้วยบูร์กอญในปี ค.ศ. 534, พรอว็องส์ในปี ค.ศ. 536, ไบเอิร์นและชวาเบินในปี ค.ศ. 555 พระเจ้าโคลทาร์ที่ 1 มีพระชนมายุยืนยาวกว่าพี่น้องทุกคน พระองค์จึงได้ครองครองราชอาณาจักรทั้งหมด กอลที่พระองค์ปกครองใหญ่กว่าราชอาณาจักรฝรั่งเศสในยุคต่อมา พระองค์สวรรคตในปี ค.ศ. 561 กอลถูกแบ่งอีกครั้งให้แก่พระโอรสสามคน คือ ซิเกอแบร์ ได้แร็งส์และแม็สที่รวมกันเป็นออสเตรเซีย (หรือพื้นที่ทางตะวันออก), กุนแทรม ได้บูร์กอญ และชิลเปอริก ได้ซวยซงที่เปลี่ยนชื่อเป็นเนิสเตรีย (หรือพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ)


พระเจ้าซิเกอแบร์ได้มอบของขวัญล้ำค่าให้พระเจ้าอทานากิลด์ กษัตริย์วิซิกอทแห่งสเปนเพื่อขอสมรสกับบรุนฮิลดา พระธิดาของพระองค์ พระเจ้าอทานากิลด์หวาดกลัวชาวแฟรงก์จึงยอมทำตามอย่างว่าง่าย บรุนฮิลดากลายเป็นพระราชินีแห่งออสเตรเซียในปี ค.ศ. 566 สร้างความอิจฉาแก่พระเจ้าชิลเปอริกที่มีพระมเหสีเป็นเพียงหญิงธรรมดาชื่อเอาโดเวรากับพระชายานอกสมรสเป็นหญิงชั้นต่ำชื่อเฟรอเดอกุนดา พระองค์จึงขอสมรสกับกัลสวินทา พระเชษฐภคนีของพระนางบรุนฮิลดา แต่หลังสมรสพระเจ้าชิลเปริกหวนกลับไปหาเฟรอเดอกุนดา พระนางกัลสวินทาจึงคิดจะกลับสเปน พระเจ้าชิลเปอริกฆ่ารัดคอพระนางในปี ค.ศ. 567 พระเจ้าซิเกอแบร์ประกาศศึกกับพระเจ้าชิลเปอริกและได้รับชัยชนะ แต่พระองค์ถูกทาสสองคนที่เฟรอเดอกุนดาส่งมาลอบสังหาร พระนางบรุนฮิลดาถูกจับกุมตัวแต่ทรงหนีออกมาได้และได้ทำพิธีสวมมงกุฎให้พระโอรสขึ้นเป็นพระเจ้าชิลเดอแบร์ที่ 2




ภาพการฆาตกรรมพระนางบรุนฮิลดา จาก De Casibus Virorum Illustrium โดยเมเตรอ ฟร็องซัว ปี ค.ศ. 1475


พระเจ้าชิลเปอริกเป็นคนโหดเหี้ยม ฆ่าคนได้ราวกับผักปลา ทรงหมกมุ่นในกาม ละโมบโลภมาก และกระหายในทองคำ ทรงคบค้ากับชาวยิว หมางเมินศาสนาคริสต์ ทรงขายดินแดนในปกครองของบิชอปชาวคริสต์ให้แก่ผู้ที่เสนอราคาสูงสุด พระองค์ถูกแทงจนสวรรคตในปี ค.ศ. 584 ผู้ลงมืออาจเป็นคนของพระนางบรุนฮิลดา พระโอรสของพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าโคลทาร์ที่ 2 แต่ด้วยยังเป็นทารก พระนางเฟรอเดอกุนดาจึงบริหารเนิสเตรียแทน พระนางมีทักษะฝีมือแต่คดโกงและโหดเหี้ยม ทรงส่งนักบวชหนุ่มไปสังหารพระนางบรุนฮิลดา แต่นักบวชหนุ่มทำไม่สำเร็จจึงถูกพระนางตัดมือตัดเท้า ในปี ค.ศ. 614 พระเจ้าโคลทาร์ที่ 2 สนับสนุนให้เหล่าขุนนางออสเตรเซียก่อปฏิวัติต่อพระนางบรุนฮิลดา พระนางถูกถอดจากตำแหน่งในวัย 80 พรรษาและถูกทรมานอยู่สามวันก่อนสวรรคต พระเจ้าโคลทาร์ที่ 2 ได้ครองทั้งสามอาณาจักร ทำให้ดินแดนแฟรงก์ถูกรวมเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง


การลอบสังหาร, การทำปิตุฆาต, การเข่นฆ่าพี่น้อง, การทรมาน, การทำให้พิการ, การทรยศหักหลัง, การคบชู้ และการร่วมประเวณีกันในเครือญาติเกิดขึ้นซ้ำๆ ในราชวงศ์เมโรวินเจียนจนทำให้ประชาชนเริ่มเสื่อมศรัทธา ไล่มาตั้งแต่พระเจ้าชิลเปอริกที่สั่งทรมานซิกิลาผู้เป็นชาวกอทอย่างโหดเหี้ยมทารุณ, พระเจ้าชาริแบร์ที่มีสนมเป็นสองพี่น้องซึ่งคนหนึ่งเป็นแม่ชี และพระเจ้าดาโกแบร์ซึ่งมีพระมเหสีพร้อมกันสามคนในเวลาเดียว แต่กษัตริย์เมโรวิงเจียนอาจมีกรรมพันธุ์เป็นหมัน ในบรรดาพระโอรสสี่คนของพระเจ้าโคลวิสมีพระเจ้าโคลทาร์เพียงคนเดียวที่มีลูก ในบรรดาพระโอรสสี่คนของพระเจ้าโคลทาร์ก็มีพระโอรสเพียงคนเดียวที่มีลูก กษัตริย์หลายคนสมรสตอนพระชนมายุ 15 พรรษาและสวรรคตก่อนพระชนมายุ 28 พรรษา ในปี ค.ศ. 614 ราชวงศ์เมโรวิงเจียนเริ่มเสื่อมอำนาจและถูกแทนที่



การขึ้นมาของราชวงศ์การอแล็งเฌียง




ภาพพระเจ้าชิลเดริกกำลังถูกกล้อนผม ในภาพวาด เมรอแว็งเฌียงคนสุดท้าย ของเอวารีสตา วีตัล ลิวมีเน


ราชวงศ์เมโรวิงเจียนดูยิ่งใหญ่เมื่อเข้าสู่ยุคของพระเจ้าโคลทาร์ที่ 2 ไม่เคยมีราชวงศ์ใดปกครองดินแดนใหญ่โตขนาดนี้มาก่อน แต่ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความช่วยเหลือจากกลุ่มขุนนางออสเตรเซียและบูร์กอญ พระเจ้าโคลแทร์จึงให้อิสระแก่กลุ่มดังกล่าวมากขึ้น ชาวออสเตรเซียและชาวบูร์กอญได้ปกครองดินแดนที่ใหญ่ขึ้นและได้เลือกขุนนางคนหนึ่ง คือ เปแป็งที่ 1 ผู้อาวุโส เป็น “สมุหราชมนเทียร” เป็นผู้ควบคุมดูแลครัวเรือนของกษัตริย์และพระราชอาณาเขต ในช่วงที่กษัตริย์เมโรวิงเจียนหมกมุ่นอยู่กับโลกีย์และการเข่นฆ่ากันเอง สมุหราชมนเทียรเริ่มมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ จนเริ่มกลืนกินราชสำนัก กองทัพ และระบบการเงิน ในยุคของพระเจ้าดาโกแบร์ (ค.ศ. 628-639) สมุหราชมนเทียรถูกจำกัดอำนาจ พระเจ้าดาโกแบร์เป็นกษัตริย์ที่ดูแลทั้งคนรวยและคนจนอย่างเท่าเทียม ทรงทำทุกอย่างเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี แต่ทรงมีพระราชินีสามคนในเวลาเดียวกันและมีชายานอกสมรสอีกมากมาย ทั้งยังทรงมัวเมาในกาม หลังยุคของพระองค์ กษัตริย์เมโรวิงเจียนกลายเป็นเพียง “กษัตริย์ไม่เอาถ่าน” อำนาจตกไปอยู่ที่สมุหราชมนเทียรอีกครั้ง เปแป็งที่ 2 ผู้อ่อนวัยกว่าปกครองกอลทั้งหมดยกเว้นอากีแตน บุตรชายของเปแป็งที่ 2 คือ ชาร์ล มาร์แตล ครองตำแหน่งเป็นสมุหราชมนเทียรและดยุคแห่งออสเตรเซีย ปกครองกอลทั้งหมดในยุคของพระเจ้าโคลทาร์ที่ 4 (ค.ศ. 717-719) ชาร์ลได้ขับไล่ชาวฟริเชียและชาวซัคเซินที่เข้ามารุกรานกอลและทำสงครามในตูร์จนสามารถปกป้องยุโรปส่วนคริสต์จากชาวมุสลิม แต่เมื่อเกิดวิกฤตทางการเงิน ชาร์ลได้ริบดินแดนมาจากคริสตจักร ขายดินแดนในปกครองของบิชอปให้เหล่าแม่ทัพ ตั้งค่ายทหารในพื้นที่อาราม และตัดหัวพระที่ต่อต้านตน


ในปี ค.ศ. 751 เปแป็งที่ 3 บุตรชายของชาร์ลซึ่งเป็นสมุหราชมนเทียรในพระเจ้าชิลเดอริกที่ 3 ได้ส่งทูตไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาซาคารีเพื่อถามว่าการปลดหุ่นเชิดจากราชวงศ์เมโรวิงเจียนออกจากตำแหน่งเพื่อขึ้นเป็นกษัตริย์แทนเป็นการกระทำที่เป็นบาปหรือไม่ ในตอนนั้นพระสันตะปาปาซาคารีกำลังต่อกรอยู่กับชาวลอมบาร์ดและต้องการการสนับสนุนจากแฟรงก์จึงตอบไปว่าไม่เป็นบาป เปแป็งจึงเรียกประชุมกลุ่มขุนนางและเหล่าพระราชาคณะที่ซวยซง ที่ประชุมได้เลือกเปแป็งเป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ กษัตริย์ไม่เอาถ่านคนสุดท้ายถูกกล้อนผมและส่งเข้าอาราม นำมาสู่จุดเริ่มต้นของราชวงศ์การอแล็งเฌียงที่ปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 751-987



อ้างอิง


  • Durant, Will (1992). The Age of Faith: A History of Medieval Civilization. MJF Books.

  • Microsoft Encarta Encyclopedia Standard 2003.


แหล่งข้อมูล


https://www.britannica.com/topic/Merovingian-dynasty





ดึงข้อมูลจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง&oldid=8598025"













รายการเลือกการนำทาง



























(RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.396","walltime":"0.470","ppvisitednodes":"value":6104,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":937240,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":7853,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":10,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":0,"limit":500,"unstrip-depth":"value":0,"limit":20,"unstrip-size":"value":0,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":0,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 251.730 1 -total"," 76.18% 191.758 2 แม่แบบ:Navbox"," 68.16% 171.577 1 แม่แบบ:กษัตริย์ฝรั่งเศส"," 18.23% 45.885 5 แม่แบบ:แถบสีสามกล่อง"," 16.98% 42.747 5 แม่แบบ:แถบสี"," 16.50% 41.546 1 แม่แบบ:ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส"," 15.60% 39.260 10 แม่แบบ:เส้นเวลา100ปี"," 15.41% 38.786 5 แม่แบบ:Loop"," 13.63% 34.304 1 แม่แบบ:กล่องประวัติศาสตร์จบ"," 11.83% 29.771 1 แม่แบบ:Tnavbar"],"scribunto":"limitreport-timeusage":"value":"0.029","limit":"10.000","limitreport-memusage":"value":1292532,"limit":52428800,"cachereport":"origin":"mw1295","timestamp":"20191127124133","ttl":2592000,"transientcontent":false););"@context":"https://schema.org","@type":"Article","name":"u0e23u0e32u0e0au0e27u0e07u0e28u0e4cu0e40u0e21u0e23u0e2du0e41u0e27u0e47u0e07u0e40u0e0cu0e35u0e22u0e07","url":"https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8C%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87","sameAs":"http://www.wikidata.org/entity/Q59488","mainEntity":"http://www.wikidata.org/entity/Q59488","author":"@type":"Organization","name":"Contributors to Wikimedia projects","publisher":"@type":"Organization","name":"Wikimedia Foundation, Inc.","logo":"@type":"ImageObject","url":"https://www.wikimedia.org/static/images/wmf-hor-googpub.png","datePublished":"2007-12-05T13:38:41Z","dateModified":"2019-11-23T17:01:32Z","image":"https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/7/7b/Merovingian_dynasty.jpg"(RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgBackendResponseTime":130,"wgHostname":"mw1275"););

Popular posts from this blog

Tamil (spriik) Luke uk diar | Nawigatjuun

Align equal signs while including text over equalitiesAMS align: left aligned text/math plus multicolumn alignmentMultiple alignmentsAligning equations in multiple placesNumbering and aligning an equation with multiple columnsHow to align one equation with another multline equationUsing \ in environments inside the begintabularxNumber equations and preserving alignment of equal signsHow can I align equations to the left and to the right?Double equation alignment problem within align enviromentAligned within align: Why are they right-aligned?

Training a classifier when some of the features are unknownWhy does Gradient Boosting regression predict negative values when there are no negative y-values in my training set?How to improve an existing (trained) classifier?What is effect when I set up some self defined predisctor variables?Why Matlab neural network classification returns decimal values on prediction dataset?Fitting and transforming text data in training, testing, and validation setsHow to quantify the performance of the classifier (multi-class SVM) using the test data?How do I control for some patients providing multiple samples in my training data?Training and Test setTraining a convolutional neural network for image denoising in MatlabShouldn't an autoencoder with #(neurons in hidden layer) = #(neurons in input layer) be “perfect”?